3 เทคนิคกระตุ้นความสนใจของลูกศิษย์เวลาสอนออนไลน์
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบันทำให้การศึกษาไทยต้องปรับตัวสู่การสอนออนไลน์ ซึ่งการเรียนการสอนนั้นควบคุมได้ยาก จนนำมาซึ่งปัญหาสุดคลาสสิกที่ครูทุกคนต้องเจอ นั่นคือ “นักเรียนไม่สนใจเรียน” แม้ปัญหานี้สามารถพบได้ตอนเรียนปกติที่โรงเรียน แต่ถ้าเทียบกันแล้ว วิธีการรับมือแตกต่างกันลิบลับเลยครับ เพราะเราไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่า เหล่าลูกศิษย์นั้นตั้งใจฟังในเรื่องที่สอนหรือไม่ แต่มันก็มีวิธีอยู่ครับ ไม่ใช่ว่ามืดแปดด้านไปเสียทีเดียว วันนี้ผมจึงมี “เทคนิคกระตุ้นความสนใจของลูกศิษย์เวลาสอนออนไลน์” มาฝากกันอีกเช่นเคย บอกเลยว่า เพียงนำ 3 เทคนิคนี้ไปใช้ แม้ตัวจะอยู่ไกล แต่คุณครูจะสามารถควบคุมการสอนในห้องเรียนได้อยู่หมัดเลยล่ะครับ
เทคนิคที่ 1 ไม่ควรใช้เวลาในการสอนนานจนเกินไป
University World News สำนักข่าวอิสระของประเทศอังกฤษ กล่าวว่าหนึ่งในวิธีการสอนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ คือการที่แต่ละบทเรียนควรมีความยาวไม่เกิน 18 นาที ลองนึกภาพตามนะครับ ขนาดเราเองนั่งฟังบรรยายเป็นเวลาเกือบ 1 ชั่วโมง ก็เริ่มล้าและเบื่อแล้ว แถมบางบทเรียนมีเนื้อหาซับซ้อนและเข้าใจยาก ก็จะเหนื่อยทั้งคนสอนและคนเรียนเลยล่ะครับ แต่ผมผมเข้าใจดีครับ ว่าการพยายามบีบเนื้อหาให้อยู่ในกรอบเวลาดังกล่าว ก็ไม่ใช่อะไรที่สามารถทำได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้น การแบ่งเนื้อหาการสอนเป็นช่วงย่อย ๆ จะเหมาะกว่า ตัวอย่างเช่น ในการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ คุณครูอาจจะแบ่งการสอนเป็น 4 ช่วงละ 15 นาที สำหรับการสอนเรื่อง WH-Questions ที่จากเดิมที่สอนรวดเดียว 1 ชั่วโมง แบบนี้ก็ได้ครับ
เทคนิคที่ 2 สื่อการสอนต้องน่าสนใจและเข้าถึงได้ง่าย
ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนไปจากอดีตมาก เทคโนโลยีจึงเปรียบเหมือนคีย์แมนคนสำคัญ ที่ช่วยให้การสอนออนไลน์ง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติมว่า การเพิ่มลูกเล่นเข้าไปในชั้นเรียนส่งผลต่อคุณภาพการเรียนออนไลน์ เพราะฉะนั้น การพัฒนาสื่อการสอนให้น่าสนใจจึงมีความจำเป็น เพื่อให้คุณครูเห็นภาพมากขึ้น เรามีวิดีโอการสอนออนไลน์ของนักเรียน ที่ไม่ได้ทำให้นักเรียนรู้สึกว่ากำลังนั่งฟังคุณครูเพียงอย่างเดียว และบางคลิปวิดีโอของเรา ได้มีการเพิ่มเอฟเฟกต์ต่าง ๆ เข้าไป เพื่อให้ดึงความสนใจนักเรียนได้ เท่านั้นยังไม่พอครับ การเข้าถึงสื่อการสอนก็ต้องง่ายเช่นกัน ทำไมล่ะ ก็เพราะว่าหากการเข้าถึงสื่อการสอนมีความยุ่งยากเกินไป จะเป็นการลด มากกว่าเพิ่มการสนใจของนักเรียนน่ะสิครับ โชคดีที่วิดีโอของเราสามารถเข้าถึงได้ เพียงแค่ปลายนิ้วคลิก แต่ผมขออุบเอาไว้ก่อน เดี๋ยวจะบอกวิธีการรับชมอีกทีท้ายบทความนะครับ
เทคนิคที่ 3 ต้องไม่สอนเพียงแต่ทฤษฎี
ผมไม่ได้บอกว่าการสอนทฤษฎีไม่ดีนะครับ ถ้านักเรียนรู้และเข้าใจหลักการก่อน พวกเขาก็จะมีความพร้อมเมื่อต้องปฏิบัติจริง อย่างไรก็ตาม คุณครูควรแบ่งเวลาไว้สำหรับภาคปฏิบัติด้วยครับ ยิ่งเรียนภาษาอังกฤษยิ่งจำเป็น สาเหตุประการหนึ่งเป็นเพราะว่า นักเรียนบางคนอาจจะไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษทุกวันเหมือนภาษาไทย จึงต้องมีพื้นที่สำหรับการฝึกฝนครับ ตัวอย่างเช่น การให้ฝึกตอบคำถามเวลาเจอประโยคที่ขึ้นต้นด้วย WH-Questions หรือการทายคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากสิ่งรอบตัวกับเพื่อนในชั้นเรียน จะช่วยให้นักเรียนรู้สึกว่าสิ่งที่เรียนนั้นไม่ไกลตัว สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ถ้าครูลองทำตามคำแนะนำเบื้องต้น ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่ง ว่าบรรดาลูกศิษย์จะต้องชอบใจ และไม่อยาจะพลาดการเข้าเรียนครั้งต่อ ๆ ไปเลยล่ะครับ
สรุป แม้การทำให้นักเรียนสนใจขณะสอนออนไลน์จะทำได้ยาก แต่หากครูสอนโดยใช้เวลาเข้าคลาสที่พอดี ใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจ สามารถเข้าถึงได้ง่าย และแสดงให้พวกเขาเห็นถึงความสำคัญของการเรียนภาคปฏิบัติมากขึ้น ก็จะสามารถลบคำกล่าวที่ว่า “เรียนไปก็ไม่ได้อะไร” ออกไปจากการเรียนออนไลน์ได้แน่นอนครับ
สุดท้ายแต่ยังไม่ท้ายสุด! จำที่ผมบอกก่อนหน้านี้ได้ไหมครับว่า ทีซอลทรี มีวิดีโอฟรี ที่จะนำมามอบให้กับคุณครู ที่สำคัญ วิดีโอเหล่านี้ถูกสอนโดยครูชาวต่างชาติ ผู้ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการสร้างบรรยากาศการเรียนภาษาให้สมจริง และทำให้เด็กไทยกล้าพูดภาษาอังกฤษ หากคุณครูสนใจรับวิดีโอไปทำการสอนให้กับนักเรียน สามารถคลิก “ลงทะเบียน” เพื่อรับสิทธิเข้าถึงวิดีโอ ที่มีให้เลือกมากมาย ตามระดับชั้นที่ต้องการได้เลยครับ
ลงทะเบียนเพื่อรับวิดีโอการสอนภาษาอังกฤษโดยครูต่างฟรี คลิกที่นี่!
เพราะเราไม่ได้เป็นแค่ตัวกลาง (agent) ในการจัดหาครูต่างชาติ แต่เราเป็นผู้ให้การศึกษา (educator) ที่ให้บริการและสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่พร้อมจะพัฒนาไปกับความต้องการและเป้าหมายของโรงเรียน
หากท่านสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ที่เบอร์ 086-468-5063 หรือ 098-998-4454
Email: nitisak@tesoltree.com, theeranai@tesoltree.com
หรือหากท่านต้องการให้เราติดต่อเพื่อพูดคุยรายละเอียดเพิ่มเติม ท่านสามารถกรอกรายละเอียดของโรงเรียนท่าน ได้ที่แบบฟอร์มนี้ http://bit.ly/3raElGi
Comments